โรคและวิธีรักษา

         ถ้าจะกล่าวถึงปลาพันธุ์พื้นเมืองของไทยแล้ว ผู้นิยมปลาสวยงามทุกคนจะต้องนึกถึงปลากัด ปลากัดมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta Spiendens ปลากัดเป็นปลาที่มีผู้นิยมเพาะเลี้ยงมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเลี้ยง และเพาะพันธุ์ได้ง่ายจึงเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเลี้ยงปลา เพราะเป็นปลาที่ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก และไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมาก โดยจะเพาะเลี้ยงกันอยู่ 2 ชนิด คือ ปลากัดจีน และปลากัดหม้อ หรือปลากัดไทยนิยมเลี้ยงไว้เพื่อดูเล่น และกีฬากัดปลา ความแตกต่างระหว่างเพศของปลากัดนั้นสามารถสังเกตได้ คือ เพศผู้ลำตัวจะมีสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจน และขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย โดยเพศเมียลำตัวจะสีซีดจาง มีลายพาดตามยาวที่ลำตัว 2 - 3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้     ในการเลี้ยงปลากัดไม่ว่าจะเลี้ยงเป็นงานอดิเรก เพื่อความสวยงาม ดูเล่น กีฬากัดปลา หรือเลี้ยงเพื่อทำธุรกิจ ปัญหาหนึ่งที่ผู้เลี้ยงมักพบอยู่เสมอ คือ การเกิดโรคในปลากัดโรคต่าง ๆ ที่พบในปลากัด ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงอากาศเปลี่ยน หรือมีการใช้สารเคมี เช่น เกลือ ออกซิเตตร้าไซคลิน ยาเหลือง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้เลี้ยงปลากัด สามารถสังเกตลักษณะของปลากัดที่มีลักษณะของปลาที่เป็นโรค และปลาที่มีอาการปกติได้ง่าย ๆ ดังนี้     ลักษณะปลากัดที่มีอาการปกติ คือ กินอาหารเก่ง ว่ายน้ำไปมาด้วยท่าทางคล่องแคล่ว มีสีสันสวยงาม ครีบ และหางของปลากัดมีการแผ่กว้างดูคล้ายพัดลำตัวมีเกล็ดมันวาว เกล็ดของปลาเรียงอย่างเป็นระเบียบ ไม่หลุดแหว่ง ท้องปลาดูปกติ คือ ไม่บวม และไม่เป็นแผล     ลักษณะปลากัดที่มีอาการป่วย คือ ปลากัดไม่กินอาหาร หรือกินอาหารได้น้อย ไม่กระฉับกระเฉง บางครั้งนอนอยู่ที่ก้นขวด อยู่นิ่ง ๆ เหนือน้ำ เอาตัวถูกับภาชนะที่ใช้เลี้ยง มีสีซีดจางลง หรือลำตัวมีสีเทาคล้ำ ครีบ หางห่อ ตามลำตัวมีรอยแผล มีจุดขาว ๆ เป็นกลุ่ม หรือจุดสีแดง ๆ ตาของปลากัดโปน หรือบวมออกมา เกล็ดตั้งขึ้น หรือพองออกมาท้องบวมใหญ่ หรืออาจจะเป็นแผลโพรงลึก     ดังนั้นถ้าผู้เลี้ยงทราบถึงสาเหตุของโรค และอาการของโรค ก็จะช่วยให้ทราบถึงวิธีการป้องกัน และรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง     การรักษาปลากัดที่ถูกวิธี ประการแรกควรแยกปลาออกจากกัน โดยคัดปลาที่ป่วยออกมาใส่ในภาชนะ โดยภาชนะนั้นใส่น้ำเพียงแค่ครึ่งหนึ่ง น้ำที่ใส่ควรเป็นน้ำเก่าที่ใช้เลี้ยง ไม่ควรใช้น้ำใหม่ใส่ หลังจากนั้นนำภาชนะดังกล่าวไปวางในที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทหลังจากแยกปลากัดที่ป่วยออกมาแล้ว จึงพิจารณาอาการของปลา โดยดูจากสภาพภายนอกว่ามีลักษณะอย่างไร มีสาเหตุการเป็นโรคมาจากอะไร และจะทำการรักษาวิธีไหน ตลอดจนถึงการป้องกันโรคนั้น ๆ โดยโรคที่พบในปลากัด มีดังนี้

1. โรคที่เกิดจากเชื้อราอาการ บริเวณลำตัว หรือหัวของตัวปลาจะมีจุด หรือกลุ่มสีขาวคล้ายสำลีปุย ๆ ติดอยู่ มีอาการซึม ไม่กระตือรือร้น มีอาการหยุดกินอาหาร สีของปลาจะซีด ๆ วิธีการรักษา ใช้ Rot Stop, Fish Fit, Fish Fit Gold

2. โรคหางเปื่อย ครีบเปื่อยอาการ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้มักเกิดจากน้ำสกปรก ไม่สะอาด น้ำที่มีตะกอน หรือเศษอาหารที่เหลือ และทับถมอยู่ก้นบ่อ ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียวิธีการรักษา ใช้ Rot Stop, Furazan Gold 

3. โรคจุดขาว อาการ เกิดจากเชื้อราพาราสิตภายนอก โดยที่จุดเล็ก ๆ สีขาวขุ่น กระจายตามลำตัว และครีบต่าง ๆ ของตัวปลา ซึ่งโรคนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิวิธีการรักษา ใช้ Super Ich 

4. โรควัณโรคปลาอาการ เชื้อแบคทีเรียจะทำให้ปลามีน้ำหนักลดลง ไม่กินอาหาร สีซีดลง เกล็ดหลุด ผิวหนังเป็นแผล ครีบเปื่อย ขากรรไกร หรือกระดูกสันหลังบิดงอ ตาโปน หรือตาอาจหลุดออกมา ว่ายน้ำผิดปกติ อาจหงายท้องขึ้น ว่ายน้ำไร้ทิศทาง หรือเกิดจุดขาวตามอวัยวะภายในวิธีการรักษา ใช้ Fish Fit, Fish Fit Gold

5. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาการ เกิดจากพยาธิภายนอกมาเกาะตามผิวหนังของตัวปลา ทำให้เกิดการระคายเคือง ปลาจะว่ายน้ำผิดปกติ ว่ายถูกับของภาชนะ หรือวัสดุใต้น้ำ สาเหตุมาจากอาหารที่มีชีวิต เช่น ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ ลูกน้ำ เป็นต้นวิธีการรักษา ใช้ Fish Fit, Fish Fit Gold, Sites     ปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบการต่อสู้ หวงถิ่นอาศัย ในการเลี้ยงปลากัด จึงจำเป็นต้องแยกเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัว น้ำที่ใช้เลี้ยงจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากคลอรีนซึ่งในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถปรับสภาพน้ำในการเลี้ยงได้ เช่น อะควาคอน ผลิตภัณฑ์ปรับสภาพน้ำที่สามารถกำจัดคลอรีน ควบคุมสารโลหะหนักที่เป็นพิษ มีสารเคลือบผิว และอิเล็คโทรไล้ท์ ทำให้ปลาเหมือนอยู่ในธรรมชาติ และแอนตี้คลอรีนกำจัดคลอรีนในน้ำประปา หรือที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน     ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงจะนิยมใช้ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดง แต่ทั้งนี้ผู้เลี้ยงสามารถฝีกปลากัดให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ เช่น เอ.ดี.พี.เบอร์ 1, 2, 3, 4 ซึ่งสามารถใช้แทนอาหารที่มีชีวิตได้มีโปรตีนสูงกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ ช่วยป้องกันโรค ป้องกันการเกิดแอมโมเนีย ไม่ทำให้น้ำเสีย และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำบ่อย หรือใช้อาหารเร่งสีปลา มีลักษณะเป็นอาหารแกรนนูลชนิดพิเศษ คล้ายหนอน มีโปรตีน และคุณค่าทางอาหารสูง เช่น เอ.ดี.พี ซุปเปอร์เรด, เอ.ดี.พี. ซุปเปอร์กรีน ทั้งนี้การให้อาหารควรให้วันละ 1 ครั้ง ให้ปริมาณพอดีที่ปลากินอิ่ม การให้อาหารที่มากเกินไปอาจจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องน้ำให้มาก     ปัจจุบันการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดให้มีสีสัน รูปลักษณ์ที่สวยงาม และมีความหลากหลาย ตั้งแต่สีเหลืองทองทั้งตัว ปลากัดหางสองแฉก ตลอดจนปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว กำลังเป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงปลากัด ดังนั้นการเพาะเลี้ยงเป็นปลากัดที่มีคุณภาพ ผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสำคัญไม่ว่าจะเป็นการเพาะพันธุ์ การให้อาหาร น้ำ หรือภาชนะที่ใช้เลี้ยง จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้ตรงตามความต้องการ และเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีต่อไปของปลาสายพันธุ์พื้นเมืองของไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น